สิทธิบัตรทอง 30 บาท กับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย
   ข่าวประชาสัมพันธ์  
 
หัวข้อข่าว :สิทธิบัตรทอง 30 บาท กับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย
รายละเอียด :  

สิทธิบัตรทอง 30 บาท กับการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย

 

มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบการพัฒนาระบบมาตรฐานและคุณภาพของนโยบายล้างไต ตามนโยบายล้างไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรก ด้วยหลักการผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น

1.การปลูกถ่ายไต (KT)

2.การล้างไตผ่านช่องท้อง (CAPD)/การล้างไตผ่านช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD)

3.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

และ 4.การดูแลด้วยวิธีประคับประคอง

ระบบนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง พ.ศ.2568

แนวปฏิบัติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยรายเดิม (ก่อน 1 เมษายน 2568) รับบริการบำบัดทดแทนไตได้เหมือนเดิม

ผู้ป่วยรายใหม่ (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป)

1. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ก่อนเข้าสู่ระยะที่ 5 (ระยะสุดท้าย) ได้รับความรู้การบำบัดทดแทนไตแต่ละวิธี เพื่อให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี

2. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 อาการเข้าสู่ระยะที่ 5 (ระยะสุดท้าย) เข้าสู่ระบบการคัดกรองเพื่อขออนุมัติบำบัดทดแทนไต (Pre-Authorization) ตามหลักเกณฑ์ของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

  • กรณียังไม่ถึงเกณฑ์ต้องบำบัดทดแทนไต รับการดูแลรักษาจากแพทย์ตามปกติ
  • กรณีเข้าเกณฑ์ได้รับการบำบัดทดแทนไต
    • 1. ประเมินวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย ด้วยระบบตรวจสอบความเหมาะสมของผู้ป่วยก่อนรับการบำบัดทดแทนไต
    • 2. ให้ความรู้ทางเลือกการบำบัดทดแทนไตแก่ผู้ป่วย โดยปราศจากอคติแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • 3. ผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์หรือไม่มีข้อจำกัดของครอบครัว จะได้รับการบำบัดทดแทนได้ด้วยการล้างไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกแรก แต่หากมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์จึงจะสามารถฟอกเลือด หรือวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
22 พ.ค. 2568